บทความ

เพลงปลุกใจเราสู้

เพลงปลุกใจเราสู้     เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๔๔ ทรงพระราชนิพนธ์ทำนอง ใส่ คำร้องที่นายสมภพ จันทรประภา ประพันธ์เป็นกลอนสุภาพ ๔ บท  ใน พ.ศ. ๒๕๑๖ คำร้องนี้นายสมภพได้ขอพระราชทานพระราชดำรัส ที่พระราชทานแก่สมาชิกสภานิติ บัญญัติ ประกอบด้วย  ข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจและประชาชนซึ่งได้จัดแข่งฟุตบอล  เพื่อนำรายได้ทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศล และเข้าเฝ้าฯ  ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน มาเขียนเป็นคำกลอนถวาย เมื่อทรงเกิดแรงบันดาลพระราชหฤทัยที่จะทรงพระราชนิพนธ์ เพลง  "เราสู้" ก็ทรงหยิบซองจดหมายใกล้พระหัตถ์มาตี  บรรทัด ๕ เส้น เพื่อ ทรงพระราชนิพนธ์ทำนอง  เมื่อแล้วเสร็จ ก็พระราชทานให้วงดนตรี  อ.ส. วันศุกร์ ซึ่งกำลังบรรเลง  อยู่ในงานวันขึ้นปีใหม่ ๑ มกราคม พ.ศ.  ๒๕๑๗ นำออกบรรเลง  ณ พระราชวังบางปะอิน จากนั้นได้ทรงนำกลับ ไปแก้ไข ก่อนจะพระราชทานออกมาให้วงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ บรรเลง  และทรงแก้ไขอีกจนพอพระราชหฤทัยนับเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ ลำดับที่ ๒ ที่ทรงจากคำร้อง                 ...

การแสดงพื้นเมือง 4 ภาค

รูปภาพ
การแสดงพื้นเมือง 4 ภาค    การแสดงพื้นเมือง เป็นการแสดงที่แสดงออกถึงการสืบทอดทาง ศิลปะและวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นที่สืบทอดกันต่อ ๆ  มาอย่างช้า นาน ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน การแสดงจะออกมาในรูปแบบใด นั้น ขึ้นอยู่กับสภาพทางภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม อาชีพ และความ จำเป็นทางเศรษฐกิจ ตลอดจนอุปนิสัยของประชาชน ในท้องถิ่น จึง ทำให้การแสดงพื้นเมือง มีลีลาท่าทางที่ แตกต่างกันออกไป แต่ก็มีจุด มุ่งหมาย อย่างเดียวกัน คือ  เพื่อความสนุกสนานรื่นเริง และพักผ่อน หย่อนใจ  ซึ่งมีความแตกต่างกันตามภูมิภาค การแสดงพื้นเมืองได้ แบ่งออกเป็นสี่ภาคดังนี้ ภาคกลาง      ภาคกลางได้ชื่อว่าอู่ข้าวอู่น้ำของไทย มีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม  มี แม่น้ำหลายสาย เหมาะแก่การกสิกรรม ทำนา ทำสวน  ผู้คนมีความ  เป็นอยู่ที่สุขสบาย จึงมีเวลาที่จะคิดประดิษฐ์ หรือสร้างสรรค์สิ่งที่ สวยงามได้มาก และมีการเล่นรื่นเริงในโอกาสต่างๆ มากมาย ทั้งตาม ฤดูกาล ตามเทศกาลและตามโอกาสที่มีงานรื่นเริง      ภาคกลางเป็นที่รวมของศิลปวัฒนธรรม การแสดงจึงมีการถ่ายทอด สืบต...

การบูรณาการนาฏศิลป์กับรายวิชาอื่นๆ

การบูรณาการนาฏศิลป์กับรายวิชาอื่นๆ 1. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์   นักเรียนที่ฝึกหัดนาฏศิลป์ จะต้องรู้จักสังเกต การกำหนดจังหวะ  ของบทเพลงที่ฝึกหัดการกำหนดแถว การเว้นระยะระหว่างแถว  การ คำนวณ พื้นที่บนเวที เพื่อความเหมาะสมสวยงาม  ให้จัดฉากละคร การกำหนดจุดยืนของผู้แสดง  หรือแม้แต่การคำนวณเรื่องการจัดต้นทุน รายรับ รายจ่าย  ในการจัดการแสดง จากตัวอย่างที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า  การเรียนรู้เรื่องนาฏศิลป์และการละคร จะต้องใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์เข้ามาร่วมด้วย เ พื่อความสมบูรณ์แบบใน การนำ เสนอ 2. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย      เนื้อหาของรายวิชาภาษาไทย ส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับภาษา    และวรรณคดี เช่นเดียวกับวิชานาฏศิลป์ และการละครที่ได้นำ            วรรณคดีไทย   และการ แต่งบทร้อยกรอง มาประกอบการเรียน   ทั้งนาฏศิลป์และละครไทย การเรียนรู้วรรณคดีผ่าน   การแสดงนาฏศิลป์ และการละครนั้นนักเรียนจะได้รับอรรถรส   และสุนทรียภาพที่ชัดเจน 3. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยา...

ความหมายและที่มาของนาฏศิลป์

รูปภาพ
ความหมาย ที่มาของนาฏศิลป์ไทย นาฏศิลป์ ไทย    จัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติอย่างหนึ่งที่เราควรเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา    ดังนี้   1.1  ความหมาย    พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน    พุทธศักราช   2542  ได้ให้ความหมายของคำว่า   “  นาฏศิลป์  ”   ไว้ว่า   “  เป็นศิลปะแห่ง การละครหรือการฟ้อนรำ  ”  นอกจากนี้    ยังมีนักการศึกษาและท่านผู้รู้ได้ให้นิยามความหมายของนาฏศิลป์แตกต่างกันออกไป    ดังนี้ 1.  ความช่ำชองในการละครและฟ้อนรำ 2. ศิลปะการละครหรือการฟ้อนรำของไทย 3. การร้องรำทำเพลง    เพื่อให้เกิดความบันเทิงเริงใจ 4. การฟ้อนรำที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น     โดยการเลียนแบบ          ท่าธรรมชาติด้วยความประณีตลึก ซึ้ง 5. ศิลปะการฟ้อนรำหรือความรู้แบบแผนของการฟ้อนรำ             ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นด้วยความงามอย่างมีแบบแผน  ...