การแสดงพื้นเมือง 4 ภาค
การแสดงพื้นเมือง 4 ภาค
การแสดงพื้นเมือง
เป็นการแสดงที่แสดงออกถึงการสืบทอดทาง
ศิลปะและวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นที่สืบทอดกันต่อ
ๆ
มาอย่างช้านาน ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน การแสดงจะออกมาในรูปแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพทางภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม อาชีพ และความจำเป็นทางเศรษฐกิจ ตลอดจนอุปนิสัยของประชาชน
ในท้องถิ่น จึงทำให้การแสดงพื้นเมือง มีลีลาท่าทางที่
แตกต่างกันออกไป แต่ก็มีจุดมุ่งหมาย อย่างเดียวกัน คือ
เพื่อความสนุกสนานรื่นเริง และพักผ่อนหย่อนใจ
ซึ่งมีความแตกต่างกันตามภูมิภาค การแสดงพื้นเมืองได้
มาอย่างช้านาน ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน การแสดงจะออกมาในรูปแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพทางภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม อาชีพ และความจำเป็นทางเศรษฐกิจ ตลอดจนอุปนิสัยของประชาชน
ในท้องถิ่น จึงทำให้การแสดงพื้นเมือง มีลีลาท่าทางที่
แตกต่างกันออกไป แต่ก็มีจุดมุ่งหมาย อย่างเดียวกัน คือ
เพื่อความสนุกสนานรื่นเริง และพักผ่อนหย่อนใจ
ซึ่งมีความแตกต่างกันตามภูมิภาค การแสดงพื้นเมืองได้
แบ่งออกเป็นสี่ภาคดังนี้
ภาคกลาง
ภาคกลางได้ชื่อว่าอู่ข้าวอู่น้ำของไทย
มีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม
มีแม่น้ำหลายสาย เหมาะแก่การกสิกรรม ทำนา ทำสวน
ผู้คนมีความ เป็นอยู่ที่สุขสบาย จึงมีเวลาที่จะคิดประดิษฐ์หรือสร้างสรรค์สิ่งที่สวยงามได้มาก และมีการเล่นรื่นเริงในโอกาสต่างๆ มากมาย ทั้งตามฤดูกาล ตามเทศกาลและตามโอกาสที่มีงานรื่นเริง
มีแม่น้ำหลายสาย เหมาะแก่การกสิกรรม ทำนา ทำสวน
ผู้คนมีความ เป็นอยู่ที่สุขสบาย จึงมีเวลาที่จะคิดประดิษฐ์หรือสร้างสรรค์สิ่งที่สวยงามได้มาก และมีการเล่นรื่นเริงในโอกาสต่างๆ มากมาย ทั้งตามฤดูกาล ตามเทศกาลและตามโอกาสที่มีงานรื่นเริง
ภาคกลางเป็นที่รวมของศิลปวัฒนธรรม
การแสดงจึงมีการถ่ายทอดสืบต่อกันและพัฒนาดัดแปลงขึ้นเรื่อยๆ และออกมา
ในรูปแบบของขนบธรรมเนียมประเพณี และการประกอบอาชีพ เช่น เต้นกำรำเคียว เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ เพลงฉ่อย เพลงอีแซว ลิเก ลำตัด รำกลองยาว เถิดเทิง เป็นต้น บางอย่างกลายเป็น
การแสดงนาฏศิลป์แบบฉบับไปก็มี เช่น รำวง และเนื่องจากเป็นที่รวม
ของศิลปะนี้เอง ทำให้คนภาคกลางรับการแสดง ของท้องถิ่นใกล้เคียงเข้าไว้หมด แล้วปรุงแต่งตามเอกลักษณ์ของภาคกลาง คือ
การร่ายรำที่ใช้มือ แขนและลำตัว เช่น โขน ละครชาตรี ละครนอก ละครใน ลิเก หุ่น หนังใหญ่ เป็นต้น
ในรูปแบบของขนบธรรมเนียมประเพณี และการประกอบอาชีพ เช่น เต้นกำรำเคียว เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ เพลงฉ่อย เพลงอีแซว ลิเก ลำตัด รำกลองยาว เถิดเทิง เป็นต้น บางอย่างกลายเป็น
การแสดงนาฏศิลป์แบบฉบับไปก็มี เช่น รำวง และเนื่องจากเป็นที่รวม
ของศิลปะนี้เอง ทำให้คนภาคกลางรับการแสดง ของท้องถิ่นใกล้เคียงเข้าไว้หมด แล้วปรุงแต่งตามเอกลักษณ์ของภาคกลาง คือ
การร่ายรำที่ใช้มือ แขนและลำตัว เช่น โขน ละครชาตรี ละครนอก ละครใน ลิเก หุ่น หนังใหญ่ เป็นต้น
ภาคเหนือ
จากสภาพภูมิประเทศที่อุดมไปด้วยป่า
มีทรัพยากรมากมาย
มีอากาศหนาวเย็น ประชากรมีอุปนิสัยเยือกเย็น นุ่มนวล งดงาม
รวมทั้งกิริยา การพูดจา มีสำเนียงน่าฟัง จึงมีอิทธิพลทำให้เพลงดนตรีและการแสดง มีท่วงทำนองช้า เนิบนาบ นุ่มนวล ตามไปด้วย
การแสดงของภาคเหนือเรียกว่า ฟ้อน เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน
ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนสาวไหม เป็นต้น ภาคเหนือนี้มีการแสดงหรือ
การร่ายรำที่มีจังหวะช้า ท่ารำที่อ่อนช้อย นุ่มนวล
เพราะมีอากาศเย็นสบาย ทำให้จิตใจของผู้คนมีความนุ่มนวล
อ่อนโยน ภาษาพูดก็นุ่มนวลไปด้วย เพลงมีความไพเราะ อ่อนหวาน ผู้คนไม่ต้องรีบร้อน ในการทำมาหากิน สิ่งต่างๆ เหล่านั้นมีอิทธิพลต่อการแสดงนาฏศิลป์ของภาคเหนือ
นาฏศิลป์ของภาคเหนือ เช่น ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนมาลัย ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนดาบ ฟ้อนเชิง(ฟ้อนเจิง) ตีกลองสะบัดไชย ซอ ค่าว
มีอากาศหนาวเย็น ประชากรมีอุปนิสัยเยือกเย็น นุ่มนวล งดงาม
รวมทั้งกิริยา การพูดจา มีสำเนียงน่าฟัง จึงมีอิทธิพลทำให้เพลงดนตรีและการแสดง มีท่วงทำนองช้า เนิบนาบ นุ่มนวล ตามไปด้วย
การแสดงของภาคเหนือเรียกว่า ฟ้อน เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน
ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนสาวไหม เป็นต้น ภาคเหนือนี้มีการแสดงหรือ
การร่ายรำที่มีจังหวะช้า ท่ารำที่อ่อนช้อย นุ่มนวล
เพราะมีอากาศเย็นสบาย ทำให้จิตใจของผู้คนมีความนุ่มนวล
อ่อนโยน ภาษาพูดก็นุ่มนวลไปด้วย เพลงมีความไพเราะ อ่อนหวาน ผู้คนไม่ต้องรีบร้อน ในการทำมาหากิน สิ่งต่างๆ เหล่านั้นมีอิทธิพลต่อการแสดงนาฏศิลป์ของภาคเหนือ
นาฏศิลป์ของภาคเหนือ เช่น ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนมาลัย ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนดาบ ฟ้อนเชิง(ฟ้อนเจิง) ตีกลองสะบัดไชย ซอ ค่าว
นอกจากนี้
นาฏศิลป์ของภาคเหนือยังได้รับอิทธิพลจาก
ประเทศใกล้เคียง ได้แก่ พม่า ลาว จีน และวัฒนธรรมของ
ชนกลุ่มน้อย เช่น ไทยใหญ่ เงี้ยว ชาวไทยภูเขา ยอง เป็นต้น
ดังนั้นนาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคเหนือ
นอกจากมีของที่เป็น "คนเมือง" แท้ๆ แล้วยังมีนาฏศิลป์
ที่ผสมกลมกลืนกับชนชาติต่างๆ และของชนเผ่าต่างๆ อีกหลายอย่าง เช่น อิทธิพลจากพม่า เช่น ฟ้อนม่านมงคล ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา นาฏศิลป์ของชนเผ่าต่างๆ เช่น ฟ้อนนก(กิงกาหล่า - ไทยใหญ่)
ฟ้อนเงี้ยว (เงี้ยว) ระบำเก็บใบชา(ชาวไทยภูเขา) เป็นต้น
ประเทศใกล้เคียง ได้แก่ พม่า ลาว จีน และวัฒนธรรมของ
ชนกลุ่มน้อย เช่น ไทยใหญ่ เงี้ยว ชาวไทยภูเขา ยอง เป็นต้น
ดังนั้นนาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคเหนือ
นอกจากมีของที่เป็น "คนเมือง" แท้ๆ แล้วยังมีนาฏศิลป์
ที่ผสมกลมกลืนกับชนชาติต่างๆ และของชนเผ่าต่างๆ อีกหลายอย่าง เช่น อิทธิพลจากพม่า เช่น ฟ้อนม่านมงคล ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา นาฏศิลป์ของชนเผ่าต่างๆ เช่น ฟ้อนนก(กิงกาหล่า - ไทยใหญ่)
ฟ้อนเงี้ยว (เงี้ยว) ระบำเก็บใบชา(ชาวไทยภูเขา) เป็นต้น
ภาคใต้
โดยทั่วไปภาคใต้มีอาณาเขตติดกับทะเลฝั่งตะวันตกและตะวันออก ทางด้านใต้ติดกับมลายู ทำให้รับวัฒนธรรมของมลายูมาบ้าง ประชากรจึงมีชีวิตความเป็นอยู่
ขนบธรรมเนียมประเพณีและบุคลิกบางอย่างที่คล้ายคลึงกัน คือ
พูดเร็ว อุปนิสัยว่องไว ตัดสินใจ รวดเร็ว เด็ดขาด
มีอุปนิสัยรักพวกพ้อง รักถิ่นที่อยู่อาศัย
และศิลปวัฒนธรรมของตนเอง จึงมีความพยายามที่จะช่วยกัน
อนุรักษ์ไว้จนสืบมาจนถึงทุกวันนี้ การแสดง ของภาคใต้มีลีลาท่ารำคล้ายกับการเคลื่อนไหวของร่างกายมากกว่าการฟ้อนรำ
ซึ่งจะออกมาในลักษณะกระตุ้นอารมณ์ให้มีชีวิตชีวาและสนุกสนาน เช่น โนรา หนังตะลุง รองเง็ง ตารีกีปัส เป็นต้น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ได้รับอิทธิพลจากศิลปะของลาว ซึ่งมักเรียกการละเล่นว่า "เซิ้ง ฟ้อน และหมอลำ" เช่น เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งโปงลาง
เซิ้งแหย่ไข่มดแดง ฟ้อนภูไท เซิ้งสวิง เซิ้งบ้องไฟ เซิ้งกะหยัง
เซิ้งตังหวาย ฯลฯ ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านประกอบด้วย แคน พิณ ซอ กลองยาวอีสาน โปงลาง โหวด ฉิ่ง ฉาบ ฆ้อง และ กรับ
ส่วนกลุ่มอีสานใต้ ได้รับอิทธิพลจากศิลปะของเขมร มีการละเล่นที่เรียกว่า "เรือม หรือ เร็อม" เช่น เรือมลูดอันเร (รำกระทบสาก)
รำกระโน็บติงต็อง (ระบำตั๊กแตนตำข้าว) รำอาไย (รำตัด)
วงดนตรีที่ใช้บรรเลงคือวงมโหรีอีสานใต้ มีเครื่องดนตรี เช่น ซอด้วง ซอตรัวเอก กลองกันตรึม พิณ ระนาดเอกไม้ ปี่สไล กลองรำมะนา และเครื่องประกอบจังหวะ การแต่งกายประกอบการแสดงแต่ง
แบบวัฒนธรรม ของพื้นบ้านอีสาน มีลักษณะลีลาท่ารำ
และท่วงทำนองดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชับ กระฉับกระเฉง รวดเร็ว และสนุกสนาน เช่น เซิ้งโปงลาง เซิ้งกะโป๋ เซิ้งกระติ๊บข้าว
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น